Blog
Industri

‘มิจฉาชีพออนไลน์’ ปัญหากลโกงที่ระบาดทั่วอาเซียน จากแบบสอบถาม

Written on:
June 20, 2024
Milieu Team

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาที่ถูกนำเสนอในเว็บไซต์ The Nation Thailand และ The Malaysian Reserve โดย Milieu Insight ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม 2,500 รายทั่วสิงคโปร์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียในเดือนมีนาคม 2567 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการหลอกลวงเหยื่อออนไลน์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภัยคุกคามทางดิจิทัล: มากกว่าครึ่งของเหยื่อที่ถูกโกงต้องสูญเสียเงิน

การศึกษาครั้งนี้พบว่าในภูมิภาคอาเซียนมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ถูกหลอกลวงและฉ้อโกง (54%) ต้องสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งประเภทการโกงที่พบมากที่สุดคือ การซื้อ/ขายสินค้าที่ปลอมหรือไม่มีอยู่จริง (37%) ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น รองลงมาคือการหลอกให้ลงทุน (31%) ซึ่งถือเป็นประเภทการหลอกลวงและฉ้อโกงที่แพร่หลายมากที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาค ส่วนในประเทศไทยนั้น การหลอกลวงในรูปแบบเรียกค่าธรรมเนียมล่วงหน้า เหยื่อถูกหลอกว่าจะได้รับเงิน สินค้า หรือบริการ แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน พบมากที่สุด (34%) รวมถึงการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง และการหลอกลวงทางอีคอมเมิร์ซ/การจัดส่ง (29%)

ซึ่งในประเทศไทยและเวียดนามนั้น มีผู้ตกเป็นเหยื่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถึง 50% ในขณะที่ 45% ของการหลอกลวงและฉ้อโกงในเวียดนามเกิดขึ้นผ่านแอปมือถือ นอกจากนี้ ในมาเลเซีย 1 ใน 4 ของเหยื่อถูกหลอกผ่านทางอีเมล

การให้ความรู้เพื่อป้องกันการหลอกลวงและการฉ้อโกง

เวียดนามและมาเลเซียกลายเป็นผู้นำในด้านการศึกษาสาธารณะที่มีการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันการหลอกลวงมากที่สุดในภูมิภาค โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 5 ใน 10 (47%) ในทั้งสองประเทศได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว ในขณะที่สิงคโปร์ (36%) ไทย (32%) และอินโดนีเซีย (24%) มีการให้ความรู้ในระดับที่น้อยกว่า

ช่องทางการให้ความรู้และเผยแพร่เรื่องหลอกลวงจะมีความแตกต่างกันไปทั่วทั้งภูมิภาคโดย 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคถูกหลอกผ่านทาง Facebook อย่างไรก็ตาม ในสิงคโปร์ มีเพียง 33% เท่านั้นที่ได้รับข้อมูลจาก Facebook แต่กลับถูกหลอกลวงและฉ้อโกงผ่านแพลตฟอร์มแบบดั้งเดิม เช่น โทรทัศน์ (47%) และหนังสือพิมพ์ (44%) หรือข้อมูลที่แบ่งปันผ่านครอบครัวหรือคนรู้จัก (46%) เป็นหลัก

แม้ว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศจะมีการระมัดระวังเพื่อช่วยลดอัตราการหลอกลวงและฉ้อโกงผ่านการศึกษาแล้วก็ตาม แต่จำนวนคนที่ตกเป็นเหยื่อของนักต้มตุ๋นออนไลน์ก็ยังคงมีอยู่ในระดับสูงในเวียดนาม (61%) และมาเลเซีย (48%) ซึ่งจากการสำรวจพบว่าความสัมพันธ์ของการศึกษาเรื่องการหลอกลวงในระดับต่ำและการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงที่สูงขึ้นนั้นเกิดที่อินโดนีเซีย (57%) และประเทศไทย (46%) 

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์มีการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงที่ต่ำที่สุด (29%) ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก "ความพยายามของภาครัฐในการต่อต้านการหลอกลวงและฉ้อโกง" ซึ่งในบรรดาชาวสิงคโปร์มีการรายงานว่าเคยสูญเสียเงินจากการหลอกลวงและ 1 ใน 2 เสียเงินไปแล้วมากกว่า 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ติดอันดับประเทศที่ถูกฉ้อโกงแต่ไม่แจ้งความ

มีผลการสำรวจที่น่าตกใจอีกเรื่องก็คือ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการรายงานการหลอกลวงทั่วทั้งภูมิภาค จะพบว่า อินโดนีเซีย (83%) ไทย (73%) และเวียดนาม (68%) เป็นสามประเทศอันดับต้นๆ ที่มีการหลอกลวงและฉ้อโกงเกิดขึ้นกับประชากร แต่กลับเลือกที่จะไม่แจ้งความเมื่อตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง สะท้อนให้เห็นว่าเหยื่ออาจคิดว่าการถูกหลอกลวงเป็นเรื่องปกติ หรือขาดความมั่นใจในประสิทธิภาพของหน่วยงานในการปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 3 ใน 4 เคยได้รับข้อความหรือโทรศัพท์ที่น่าสงสัยมากกว่า 2 ครั้งในเดือนที่ผ่านมา โดยสิงคโปร์ (95%) มีอัตราการเกิดสูงสุด

อนาคตที่ปลอดมิจฉาชีพ โลกที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

สรุปแล้ว สถานการณ์การหลอกลวงและฉ้อโกงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตกต่างกันอย่างมาก โดยมีอัตราการหลอกลวงของสิงคโปร์อยู่ที่ 29% และเวียดนามเป็นผู้นำด้วยอัตราการหลอกลวงที่สูงถึง 61% 

"ความคิดที่ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นกับฉัน นั่นคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความท้าทายของการต่อต้านมิจฉาชีพคือ กลุ่มคนที่มักจะไม่ให้ความสนใจในเรื่องความเสี่ยงของการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้ความรู้ และเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่ออาชญากร และปกป้องผู้บริโภคจากการถูกหลอกลวง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชนทั่วไป

Siap untuk meningkatkan permainan wawasan Anda?

Mulai langkah awal menuju keunggulan data-driven
Hubungi Milieu Sekarang
Terima kasih, kami akan segera menghubungi Anda!
Ups! Ada yang tidak beres saat mengirimkan formulir.