Blog
Ngành công nghiệp

‘มิจฉาชีพออนไลน์’ ปัญหากลโกงที่ระบาดทั่วอาเซียน จากแบบสอบถาม

Viết trên:
June 20, 2024
Milieu Team

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาที่ถูกนำเสนอในเว็บไซต์ The Nation Thailand และ The Malaysian Reserve โดย Milieu Insight ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม 2,500 รายทั่วสิงคโปร์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียในเดือนมีนาคม 2567 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการหลอกลวงเหยื่อออนไลน์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภัยคุกคามทางดิจิทัล: มากกว่าครึ่งของเหยื่อที่ถูกโกงต้องสูญเสียเงิน

การศึกษาครั้งนี้พบว่าในภูมิภาคอาเซียนมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ถูกหลอกลวงและฉ้อโกง (54%) ต้องสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งประเภทการโกงที่พบมากที่สุดคือ การซื้อ/ขายสินค้าที่ปลอมหรือไม่มีอยู่จริง (37%) ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น รองลงมาคือการหลอกให้ลงทุน (31%) ซึ่งถือเป็นประเภทการหลอกลวงและฉ้อโกงที่แพร่หลายมากที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาค ส่วนในประเทศไทยนั้น การหลอกลวงในรูปแบบเรียกค่าธรรมเนียมล่วงหน้า เหยื่อถูกหลอกว่าจะได้รับเงิน สินค้า หรือบริการ แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน พบมากที่สุด (34%) รวมถึงการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง และการหลอกลวงทางอีคอมเมิร์ซ/การจัดส่ง (29%)

ซึ่งในประเทศไทยและเวียดนามนั้น มีผู้ตกเป็นเหยื่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถึง 50% ในขณะที่ 45% ของการหลอกลวงและฉ้อโกงในเวียดนามเกิดขึ้นผ่านแอปมือถือ นอกจากนี้ ในมาเลเซีย 1 ใน 4 ของเหยื่อถูกหลอกผ่านทางอีเมล

การให้ความรู้เพื่อป้องกันการหลอกลวงและการฉ้อโกง

เวียดนามและมาเลเซียกลายเป็นผู้นำในด้านการศึกษาสาธารณะที่มีการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันการหลอกลวงมากที่สุดในภูมิภาค โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 5 ใน 10 (47%) ในทั้งสองประเทศได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว ในขณะที่สิงคโปร์ (36%) ไทย (32%) และอินโดนีเซีย (24%) มีการให้ความรู้ในระดับที่น้อยกว่า

ช่องทางการให้ความรู้และเผยแพร่เรื่องหลอกลวงจะมีความแตกต่างกันไปทั่วทั้งภูมิภาคโดย 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคถูกหลอกผ่านทาง Facebook อย่างไรก็ตาม ในสิงคโปร์ มีเพียง 33% เท่านั้นที่ได้รับข้อมูลจาก Facebook แต่กลับถูกหลอกลวงและฉ้อโกงผ่านแพลตฟอร์มแบบดั้งเดิม เช่น โทรทัศน์ (47%) และหนังสือพิมพ์ (44%) หรือข้อมูลที่แบ่งปันผ่านครอบครัวหรือคนรู้จัก (46%) เป็นหลัก

แม้ว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศจะมีการระมัดระวังเพื่อช่วยลดอัตราการหลอกลวงและฉ้อโกงผ่านการศึกษาแล้วก็ตาม แต่จำนวนคนที่ตกเป็นเหยื่อของนักต้มตุ๋นออนไลน์ก็ยังคงมีอยู่ในระดับสูงในเวียดนาม (61%) และมาเลเซีย (48%) ซึ่งจากการสำรวจพบว่าความสัมพันธ์ของการศึกษาเรื่องการหลอกลวงในระดับต่ำและการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงที่สูงขึ้นนั้นเกิดที่อินโดนีเซีย (57%) และประเทศไทย (46%) 

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์มีการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงที่ต่ำที่สุด (29%) ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก "ความพยายามของภาครัฐในการต่อต้านการหลอกลวงและฉ้อโกง" ซึ่งในบรรดาชาวสิงคโปร์มีการรายงานว่าเคยสูญเสียเงินจากการหลอกลวงและ 1 ใน 2 เสียเงินไปแล้วมากกว่า 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ติดอันดับประเทศที่ถูกฉ้อโกงแต่ไม่แจ้งความ

มีผลการสำรวจที่น่าตกใจอีกเรื่องก็คือ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการรายงานการหลอกลวงทั่วทั้งภูมิภาค จะพบว่า อินโดนีเซีย (83%) ไทย (73%) และเวียดนาม (68%) เป็นสามประเทศอันดับต้นๆ ที่มีการหลอกลวงและฉ้อโกงเกิดขึ้นกับประชากร แต่กลับเลือกที่จะไม่แจ้งความเมื่อตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง สะท้อนให้เห็นว่าเหยื่ออาจคิดว่าการถูกหลอกลวงเป็นเรื่องปกติ หรือขาดความมั่นใจในประสิทธิภาพของหน่วยงานในการปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 3 ใน 4 เคยได้รับข้อความหรือโทรศัพท์ที่น่าสงสัยมากกว่า 2 ครั้งในเดือนที่ผ่านมา โดยสิงคโปร์ (95%) มีอัตราการเกิดสูงสุด

อนาคตที่ปลอดมิจฉาชีพ โลกที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

สรุปแล้ว สถานการณ์การหลอกลวงและฉ้อโกงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตกต่างกันอย่างมาก โดยมีอัตราการหลอกลวงของสิงคโปร์อยู่ที่ 29% และเวียดนามเป็นผู้นำด้วยอัตราการหลอกลวงที่สูงถึง 61% 

"ความคิดที่ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นกับฉัน นั่นคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความท้าทายของการต่อต้านมิจฉาชีพคือ กลุ่มคนที่มักจะไม่ให้ความสนใจในเรื่องความเสี่ยงของการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้ความรู้ และเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่ออาชญากร และปกป้องผู้บริโภคจากการถูกหลอกลวง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชนทั่วไป

Sẵn sàng nâng cao tầm nhìn sâu sắc của bạn chưa?

Hãy bắt đầu ngay để hướng tới sự xuất sắc dựa trên dữ liệu
Liên hệ với Milieu ngay hôm nay
Cảm ơn bạn, chúng tôi sẽ liên lạc rất sớm!
Rất tiếc! Có gì đó không ổn khi gửi biểu mẫu.