สำหรับวิจัยทางการตลาดนั่น คุณภาพของงานวิจัยก็ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการออกแบบแบบสอบถามออนไลน์(online surveys) ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เพียงแค่เป็นการถามคำถามที่ใช่ แต่รวมไปถึงการจัดการ จัดเรียงคำถามอย่างถี่ถ้วน อย่างเช่นถ้าคุณอยากรู้ว่าลูกค้าของคุณรับรู้ (Perceive) ตัวแบรนด์ของเรายังไงก็สามารถถามได้ด้วยคำถามเดียว หรือ บางครั้งอาจจะต้องใช้เป็นชุดคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่คุณต้องการ
ดังนั้นประเภทคำถามจึงมีประโยชน์ในแง่ของการที่จะทำให้เราเข้าใจว่าจะใช้เครื่องมือชุดคำถามออนไลน์(online surveys tools) แต่ละประเภทในการทำงานอย่างไร เพื่อออกแบบแบบสอบถามที่ไม่ทำให้เกิดการคิดแบบเอนเอียงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ อคติ (Bias) และในขณะเดียวกันก็จะสามารถนำพาเราไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้เรานำไปต่อยอดได้ สำหรับบทความนี้ เราจะพาคุณไปลองดู Canvas dashboard ของพวกเราแบบไว ๆ ซึ่งจะนำพาคุณมาสู่คำตอบสุดท้ายที่แบรนด์ของคุณต้องการ ในวิธีที่ง่ายกว่า ปรับเปลี่ยนได้ง่าย (Flexibility) ด้วยเครื่องมือออกแบบแบบสอบถามที่ครบเซ็ต
ประเภทคำถามที่เรานำเสนอ ได้แก่
1. เนื้อหาอย่างเดียว (Content Only)
คำถามแบบข้อความ(Survey) หรือ การ์ดข้อความ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบท คำแนะนำ หรือ ความหมาย โดยไม่ได้จะเอาคำตอบในส่วนนี้ แต่การมีส่วนนี้นั้นก็เพื่อที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามเข้าใจคำถามต่อ ๆ ไปได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำส่วนนี้มาใช้เพื่อเป็นจุดที่ให้เขาได้หยุดพัก หรือ หยุดคิดสักครู่ (Mental rest stop) ผ่านการคั่นระหว่างชุดคำถาม หรือ แต่ละคำถาม
2. เลือกได้คำตอบเดียว (Single-select)
คำถามประเภทนี้ ทางผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามจะเลือกตอบได้เพียงคำตอบเดียว โดยมักจะใช้การถามแบบ ใช่ หรือ ไม่ หรืออาจจะเป็นคำถามที่ใช้ช่วงเป็นคำตอบ
3. เลือกได้หลายคำตอบ (Multi-select)
สำหรับคำถามประเภทนี้ผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามสามารถที่จะเลือกตอบได้มากกว่าหนึ่งตอบ และพวกเราได้มีตัวช่วยผ่านบางฟีเจอร์ (Feature) ที่จะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น และยังสามารถที่จะทำให้ตัวแบบสอบถามมีความต่อเนื่อง และดึงดูดใจให้เข้าร่วมอยากที่จะทำได้เช่นเดียวกัน
- สามารถที่จะตั้งค่าจำนวนตัวเลือกน้อยสุด หรือ มากสุดที่ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ และเหมาะกับคำถาม เช่น เลือก 3 แบรนด์จากในลิสต์ที่คุณชื่นชอบมากที่สุด
- มีการสุ่มลำดับตัวเลือก เพื่อลดการตอบด้วยตัวเลือกที่อยู่อันแรก หรือ บนสุด
- ใส่ตัวเลือกแบบนอกเหนือจากตัวเลือกเฉพาะที่จำเป็น เช่น อื่น ๆ หรือ ไม่ใช่ทั้งหมดที่กล่าวมา เพื่อที่จะนำออกจากการสุ่มลำดับตัวเลือก (Randomization)
ในขณะที่พยายามที่จะใส่ตัวเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อจะนำมาแยกข้อมูลเชิงลึก (Insights) ต่อ เราแนะนำให้พยายามทำรายการตัวเลือก (Option list) ให้สั้นเข้าไว้ โดยไม่เกิน 10 ตัวเลือกต่อ 1 คำถาม เพื่อลดความเสี่ยงในการที่ผู้ตอบจะเลือกตอบตัวเลือกแรก หรือ บนสุด เนื่องจากความท้อที่จะอ่านตัวเลือกเยอะๆของผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามออนไลน์
4. การให้คะแนน (Rating)
คำถามประเภทนี้จะคล้ายกับการเลือกคำตอบเดียว โดยรูปแบบคำถามแบบนี้จะเป็นการให้ค่าตัวเลข (Numerical values) เพื่อตอบคำถาม ดังนั้นก็จะสามารถคำนวณค่าเฉลี่ย หรือ ค่ามาตรฐานได้ ซึ่งแบบนี้เหมาะกับการถามเป็นสเกล (Scale type) เช่น ระดับความเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย หรือ คำถาม NPS
5. การจัดอันดับ (Ranking):
คำถามแบบจัดอันดับนั้นทางผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามสามารถที่จะจัดอันดับในคำตอบของคุณลักษณะ (Attribute) หรือ แบรนด์ต่างๆ ได้ และเราแนะนำว่าควรจำกัดจำนวนตัวเลือกไม่เกิน 8 ตัวเลือก หรือ น้อยกว่านั้น เพื่อไม่ทำให้ผู้ตอบแบบถามรู้สึกตึงเครียด หรือ ยากลำบากในการตัดสินใจจนเกินไป
6. คำถามปลายเปิด (Open-ended)
สำหรับคำถามประเภทนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถจะตอบเป็นข้อความ ค่าต่าง ๆ หรือ ตอบเป็นช่วงก็ได้หมดเลย ซึ่งดีต่อการรวบรวม Feedback จากสิ่งที่เขามีความคิดเห็นต่อสิ่งนั้นๆจริง ๆ
7. คำถามปลายเปิดแบบมีตัวช่วย (Aided open ended)
แบบนี้จะมีการตั้งวิธีการตอบสำหรับผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามออนไลน์ (online surveys) ในแง่ที่ว่าเขาจะพิมพ์อะไรได้บ้าง ซึ่งมีความหลากหลายแตกต่างกันไป ประกอบไปด้วย
- คำถามปลายเปิดสำหรับตัวเลขและตัวอักษร โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะสามารถใส่ข้อความแบบไหนก็ได้ในช่องว่างนั้น
- คำถามปลายเปิดสำหรับจำนวนที่เป็นตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งแบบนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำเป็นที่จะต้องใส่ตัวเลขสำหรับแต่ละช่อง
- น้อยที่สุด - มากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามจำเป็นที่จะต้องระบุจำนวนในช่วงที่ระบุไว้สำหรับแต่ละตัวเลือก
- ผลรวม โดยผู้ตอบแบบสอบถามต้องเกลี่ยตัวเลขสำหรับแต่ละตัวเลือกเพื่อให้สุดท้ายแล้วผลรวมของทุกตัวเลือกในคำถามนี้จะรวมได้เป็นแบบจำนวนที่กำหนด
8. แบบแสดงรูปเดี่ยว และ เซ็ตรูป (Image Portrait and Image List)
คำถามแบบแสดงรูปภาพนี้จะแสดงได้ทั้งแบบ 1 รูป หรือ เป็นเซ็ตรูปภาพ พร้อมคำบรรยายด้านล่างก็ได้เช่นเดียวกัน และมีฟังก์ชันในการขยายภาพ (Zoom) เพื่อให้ง่ายต่อการมองอีกด้วย
9. การ์ดคำถามแบบตรรกะ (Logic Cards)
การ์ดคำถามแบบตรรกะ (Logic Cards) นี่จะนำผู้ตอบแบบสอบถามไปสู่คำถาม หรือ ชุดคำถามเดียวที่สอดคล้องกับพวกเขาโดยจะพิจารณาจากการตอบคำถามก่อนหน้า ซึ่งตรงนี้สามารถมั่นใจถึงความต่อเนื่อง และการทำให้แบบสอบถามน่าดึงดูดในการทำแบบสอบถามได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยทำให้ข้อมูลมีความ clean ซึ่งสามารถลองดูบางตัวอย่างของ Logic cards ได้ที่ Canvas
10. การคัดออก (Screen Out)
จะช่วยในการคัดคนที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายออกจากการตอบแบบสอบถามได้โดยดูจากคำตอบของเขา ซึ่งหากใครที่โดนคัดออก คุณก็สามารถที่จะตั้งข้อความตอนท้ายของการจบแบบสอบถามได้ และ คนที่ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายก็จะเห็นหน้านั้น
11. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
คำถามประเภทนี้มักจะใช้ในการดูความตั้งใจในการตอบคำถาม หรือ ตรรกะในการตอบซึ่งจะช่วยกรองคนที่อาจจะให้คำตอบที่มีคุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ในเรื่อของการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล (Data integrity)