Blog
Industri

5 เทคนิคอัปเกรดการทดสอบแนวคิด (Concept Testing) ครั้งต่อไปให้ปัง!

Written on:
February 15, 2024
No items found.

การทดสอบแนวคิด (Concept testing) เป็นขั้นเริ่มต้นสำหรับวิธีวิจัยตลาด (Market research) ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์ หรือ บริการที่คนอยากจะซื้อ ซึ่งเป็นคอนเซปที่สามารถนำไปใช้ได้แตกต่างกันไป อาจจะเป็นไอเดียสำหรับ Product เซ็ตใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยเห็นมากก่อน หรือ อาจจะเป็นการเปลี่ยนดีไซน์ (Redesign) หรือ รีแบรนด์ (Rebrand) โดยการที่ทำการทำสอบแนวคิด (Concept test) จะทำให้เราสามารถพัฒนาแนวคิด (Idea) ในพืนที่ปลอดภัย และสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังประเมินความเป็นไปได้ของสินค้าหรือบริการตั้งแต่เนิ่น ๆ และช่วยพัฒนาต่อยอดจาก Feedback ที่ได้รับ

บทความนี้รวบรวมเคล็ดลับและข้อมูลเชิงลึก ที่ได้รับการสนับสนุนโดยความเชี่ยวชาญด้านวิจัยตลาดของ Milieu จากประสบการณ์ในการออกแบบและวิเคราะห์การทดสอบแนวคิดให้กับลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ผ่านการวิจัยจริง

#1 – ใส่ใจประสบการณ์การตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วม

สำหรับคุณภาพของผลลัพธ์จากแบบสอบถาม (Response quality) ส่งผลต่อการทดสอบแนวคิดอย่างมากจนหลายคนอาจจะตกใจได้ เพราะด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนของแนวคิด (Concept) ลำดับที่เขาเล่า และแม้แต่ระยะเวลาของการทำแบบสอบถาม โดยจากการทดลองของ Milieu Insight ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วไปจะมีสมาธิในการทำแบบสอบถามได้อยู่ไม่เกิน 10 นาที

เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลแบบสอบถาม สิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจนั้นคือประสบการณ์ของผู้ตอบแบบสอบถาม (Respondents’ survey experience) ขณะทำแบบสอบถาม ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องจัดการกับแนวคิด (Concept) ที่ซับซ้อน การจำกัดจำนวนคอนเซปเพียง 1-2 concept ต่อผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น ใช้การทดสอบแบบโมนาดิค (Modanic model) มักจะได้ผลดีกว่าในการทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามจดจ่อ และยังมีสมาธิ ซึ่งจะส่งผลให้เราได้คำตอบที่มีคุณภาพดีขึ้นอีกด้วย

market research companies

ตัวอย่างการเซ็ตแบบสอบถามด้วยแนวคิดแบบโมนาดิคบน Canvas (Visual Editor) ของ Milieu

นี่สามารถทำให้เห็นลำดับขั้นตอน ความเชื่อมโยงการตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมได้ชัดเจน พร้อมทั้งทำให้มองเห็นภาพรวมของกระบวนการ และการกำหนดเส้นทางของแบบสอบถามได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้เราตรวจสอบความสมเหตุสมผล และระบุข้อผิดพลาด หรือ Outlier ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

#1 – ใส่ใจประสบการณ์การตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วม (Questionnaire)

สำหรับคุณภาพของผลลัพธ์จากการตอบแบบสอบถาม (Response quality) ส่งผลต่อการทดสอบแนวคิดอย่างมากจนหลายคนอาจจะตกใจได้ เพราะด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนของแนวคิด (Concept) ลำดับที่เขาเล่า และแม้แต่ระยะเวลาของการทำแบบสอบถาม โดยจากการทดลองของ Milieu Insight- marketing research agency ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วไปจะมีสมาธิในการทำแบบสอบถามได้อยู่ไม่เกิน 10 นาที

เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลแบบสอบถาม สิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจนั้นคือประสบการณ์ของผู้ตอบแบบสอบถาม (Respondents’ survey experience) ขณะทำแบบสอบถาม ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องจัดการกับแนวคิด (Concept) ที่ซับซ้อน การจำกัดจำนวนคอนเซปเพียง 1-2 concept ต่อคน เช่น ใช้การสำรวจ หรือ ตอบแบบสอบถามแบบโมนาดิค (Modanic model) มักจะได้ผลดีกว่าในการทำให้ผู้เข้าร่วมจดจ่อ และมีสมาธิ ซึ่งจะส่งผลให้เราได้คำตอบที่มีคุณภาพดีขึ้นอีกด้วย

#2 – สำรวจแนวคิด และจุดยืนที่แบรนด์ของคุณพร้อมผลักดันเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับลูกค้า

ในขณะที่รูปแบบทั่วไปของแบบสอบถาม(questionnaire creator) หรือ Template สำเร็จรูปในการที่เราจะนำมาใช้นั้นมีความสะดวก แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นหลุมพรางได้เช่นเดียวกัน เพราะผลของแบบสอบถามที่ได้มาอาจจะไม่สอดคล้องกับ Capability ของแบรนด์ หรือความตั้งใจของตัว brand เอง ดังนั้นคำแนะนำของเราคือการตั้งคำถามให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัวแบรนด์ของคุณสามารถทำได้ และมีความตั้งใจอยากที่จะทำสิ่งนั้น

ยกตัวอย่างเช่น หากสินค้า หรือ บริการของเราที่วางแผนที่จะขายนั้นไม่สามารถต่อรองได้ ให้เอาเรื่องราคาออกจากแบบสอบถาม และการทำแบบนี้จะช่วยให้คุณดึงความสนใจไปยังประเด็นที่ต้องการความเห็น หรือว่า Feedback จริง ๆ ได้ดีกว่าอีกด้วย ในทางกลับกันถ้าลูกค้าสามารถต่อรองสินค้า หรือ บริการได้ การวัด หรือ ถามความชื่นชอบ Concept ในราคาต่าง ๆ โดยใช้โมเดลอย่าง Van Westerndorp ก็จะสามารถทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจยิ่งขึ้น

#3 – อย่าลืมประเมินผลของชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงแนวคิดของตัวแบรนด์

สำหรับการใส่ชื่อแบรนด์ลงไปในการทำการทดสอบแนวคิด (Concept testing) อาจจะทำให้เกิดอคติ (Bias) ได้ คำถามที่น่าสนใจก็คือ ถ้าอคติโดยทั่วไป เราควรลบบางส่วนที่มีชื่อแบรนด์ออกจากการทำ Concept test เท่าที่จะทำได้ตลอดไป หรือ ควรที่จะตัดชื่อแบรนด์ของคุณเลยสำหรับการทดสอบแนวคิด?

  • ผลลัพธ์แบบการปลดชื่อแบรนด์ (Debranded) และ แนวคิดแบรนด์ออกจากแบบสอบถามที่กระแสค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน คือ อาจจะบอกถึงความสัมพันธ์ (Affinity) ที่แข็งแกร่งสำหรับ Concept  โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อแบรนด์ได้
  • ผลลัพธ์แบบการปลดชื่อแบรนด์ (Debranded) ออกจากแบบสอบถามได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใส่ชื่อแบรนด์ไว้ เพราะนี้อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่าง Concept ของแบรนด์กับสิ่งที่คนรับรู้ (Perceive) เกี่ยวกับตัวแบรนด์
  • ผลลัพธ์แบบการใส่ชื่อแบรนด์ไว้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับการปลดชื่อแบรนด์ (Debranded) ออกจากแบบสอบถาม ซึ่งถ้าเป็นผลลัพธ์แบบนี้ แบรนด์อาจจะได้ชูแนวคิดขึ้นไปอีก ซึ่งอาจจะคุ้มค่ากับเรื่องของในการตั้งราคาสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ของตัวแบรนด์

#4 - ทลายกรอบ เปิดใจมองข้อมูล

สำหรับข้อมูลนั้นยิ่งมีการตั้งสมมติฐานมากเท่าไหรยิ่งทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะไม่จำกัดการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะสิ่งที่เราอยู่แล้ว โดยสิ่งที่อาจเป็นข้อผิดพลาดทั่วไปของการวิเคราะห์ข้อมูล คือการเลือกหยิบข้อมูลในส่วนที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราอยากจะถ่ายทอด (Cherry-picking data) ซึ่งจะทำให้เกิดอคติ (Bias) หรือ การรับรู้ (Perception) ที่ผิดเพี้ยนไป และทำให้เสียจุดประสงค์ของการวิจัย ดังนั้นควรตีความผลลัพธ์จากหลายมุมมอง เช่น กลุ่มลูกค้าต่างๆ และมองภาพรวมทั้งหมด ไม่ใช่แค่เปรียบเทียบข้อมูลทีละจุด และวิธีนี้ช่วยให้การวิเคราะห์ครอบคลุม และทำให้เข้าใจความต้องการลูกค้าได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าการเปรียบเทียบแบบโดยตรง หรือ ทีละจุด

ตัวอย่าง เช่น หากความชอบของแนวคิด A ใกล้เคียงกับแนวคิด B อะไรคือปัจจัยที่ตัดสินใจเลือก? การใช้หลายมุมมองจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก เช่น เปรียบเทียบคะแนนกับคำถามสรุปความชอบโดยตรง หรือ วิเคราะห์ข้อมูลอื่นๆ ที่สะท้อนองค์ประกอบที่ชื่นชอบ

อีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจคือ การลองดูข้อมูลอื่นๆ ในแบบสอบถาม แม้อาจจะไม่ได้เป็นการถามความชอบโดยตรงแต่จะช่วยบอกองค์ประกอบของแต่ละแนวคิดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ควรที่จะสอดคล้องกับแบรนด์ของคุณ

#5 - ขุดขุมทรัพย์ข้อมูลเชิงลึก (Insights) ด้วยการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation)

ลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการ และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เช่น หนุ่ม Gen Z กับ Gen X เลือกซื้อวิตามินเสริมอาหารต่างกัน ซึ่งความต่างนี้มาจาก รายได้, อาชีพ, และสถานะครอบครัว ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ

เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม ให้เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวิสัยทัศน์แบรนด์ (Vision) สำหรับแนวคิดของผลิตภัณฑ์ หรือ บริการที่กำลังจะ launch และกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ควบคู่ไปกับการมองอนาคต มองให้กว้างเข้าไว้ เพราะนี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะตอบเรื่องการแบ่งกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่เหมาะสมได้ทันทีเลย แต่ในอีกมุมหนึ่งเราอาจเจอกลุ่มลูกค้าไม่คาดคิดที่เราอาจมองข้ามไปก่อนหน้านี้ เปิดใจ และตื่นตัวกับข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ เพื่อนำมาแบ่งกลุ่มลูกค้า และถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับโอกาสอีกมากมายสำหรับแบรนด์ของคุณ

การ opitimise ประสบการณ์ของผู้ตอบแบบสอบถามถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับข้อมูลเชิงลึกที่น่าเชื่อถือ ตั้งแต่การออกแบบชุดคำถามอย่างถี่ถ้วนสำหรับประสบการณ์ของผู้ตอบแบบสอบถามไปจนถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นผลจากการตอบแบบสอบอย่างเปิดใจ (Open mind) ซึ่งจะนำมาสู่การศึกษาการทดสอบแนวคิด (Concept test study) ที่ครอบคลุม และมั่นใจได้ถึงข้อมูลเชิงลึกที่ลึกมากพอ และน่าเชื่อถือ 

Siap untuk meningkatkan permainan wawasan Anda?

Mulai langkah awal menuju keunggulan data-driven
Hubungi Milieu Sekarang
Terima kasih, kami akan segera menghubungi Anda!
Ups! Ada yang tidak beres saat mengirimkan formulir.