Blog
Truyền thông & Tiếp thị

เปิดโลกการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: จากเทรนด์ผู้ติดตามไปจนคนที่เป็น Deinfluencer

Viết trên:
May 3, 2024
Milieu Team

โลกแห่งดิจิทัล - โลกแห่งมีม เทรนด์ และวิดีโอสุนัขและแมวแสนน่ารัก ในความมหัศจรรย์ออนไลน์อันกว้างใหญ่นี้ มีคนกลุ่มนึงที่มีเสน่ห์ดึงดูด โน้มนาวผู้คนเหมือนมีอำนาจดลใจคนได้ คนกลุ่มนี้เราเรียกเค้าว่า อินฟลูเอนเซอร์ หรือ ผู้มีอิทธิพลทางโซเชียลมีเดียนั่นเอง หากคุณเคยพบว่าตัวเองเลื่อนดูฟีดของคุณและบังเอิญเจอโพสต์หรือวิดีโอที่ไม่ใช่กลุ่มเพื่อนของคุณ แต่เป็นจากกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ แสดงว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ในความเป็นจริง 56% ที่ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราติดตามผู้มีอิทธิพลเหล่านี้เหมือนเป็นวิธีชีวิตใหม่ไปเลย

อินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้พร้อมกับผู้ติดตามที่เหนียวแน่นได้ปฏิวัติกลยุทธ์ทางการตลาด โดยแบรนด์ชั้นนำต่างๆ ก็หันมาร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ จนกลายเป็นกลยุทธ์การโฆษณาที่สำคัญ อินฟลูเซอร์ใช้ความเป็นที่รู้จักของตนเอง นำเสนอสินค้า หรือบริการ อย่างละเอียดอ่อน โดยมักจะรวมการจัดวางผลิตภัณฑ์ลงในเนื้อหาในชีวิตประจำวัน เช่น การสอนแต่งหน้าและวิดีโอเตรียมตัวกับฉัน หรือแม้แต่วิดีโอบล็อกการเดินทางของพวกเขา การโพสต์ของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ จะช่วยให้แผนโซเชียลมีเดียของคุณอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นซึ่งผลที่ได้ หรือการตอบรับจะเป็นข้อพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของพวกเขา

เพื่อเข้าใจเรื่องราวสมัยใหม่นี้ได้ดียิ่งขึ้น เราได้ศึกษาความคิดเห็นและพฤติกรรมของบุคคลในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม (จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม N=500 คนแต่ละประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของคนในประเทศ ทั้งด้านอายุและเพศ)

ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1 ใน 2 ติดตามอินฟลูเอนเซอร์บนโซเชียลมีเดีย (Online Survey)

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค คนสิงคโปร์ (39%) ติดตามอินฟลูเอนเซอร์น้อยกว่า แต่คนฟิลิปปินส์ (68%) และคนเวียดนาม (71%) ติดตามอินฟลูเอนเซอร์มากกว่า ทั้งนี้แพลตฟอร์มสามอันดับแรกที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์ ได้แก่ YouTube (72%), Instagram (60%) และ Facebook (60%) 

คนในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ ติดตามอินฟลูเอนเซอร์ส่วนใหญ่บน YouTube ในขณะที่เช่น คนอินโดนีเซีย และคนสิงค์โปร์ ติดตามอินฟลูเอนเซอร์ใน Instagram และคนเวียดนามติดตามอินฟลูเอนเซอร์ใน Facebook  

หากมองดูความต่างใน Gen ต่างๆ Gen Z จำนวนมากติดตามอินฟลูเอนเซอร์บน Instagram (64%) และ TikTok (58%) แต่ Facebook กลับได้รับความนิยมมากกว่าในกลุ่ม Millennials (69%) และ Gen X (74%)

questionnaire creator Influencers on social media
Milieu - Survey data analysis software

แม้จะมีความแตกต่างเหล่านี้ อินฟลูเอนเซอร์ที่คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดตามส่วนใหญ่มาจากประเทศของตนเอง ทั่วทั้งภูมิภาค มีเพียงบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติบางคนเท่านั้นที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวอย่างของอินฟลูเอนเซอร์ เนื้อหาที่อินฟลูเอนเซอร์โพสต์ 5 หัวข้อยอดนิยมที่คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สนใจ ได้แก่ ไลฟ์สไตล์ (54%) ความบันเทิงและ/หรือตลก (52%) อาหาร (48%) แฟชั่น (41%) และการเดินทาง ( 40%) อย่างไรก็ตามหัวข้อเหล่านี้ก็แตกต่างกันไปตาม profile ของคน เช่น ผู้ชายติดตามอินฟลูเอนเซอร์เป็นหลักซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบันเทิง/ตลก (52%) ไลฟ์สไตล์ (46%) และเทคโนโลยีและอุปกรณ์ (41%) ในขณะที่ผู้หญิงบริโภคเนื้อหาด้านความบันเทิงและการแสดงตลกเป็นส่วนใหญ่ (61%) แต่ความสนใจหลักอื่นๆ ของพวกเขาคืออาหาร (55%) และความงาม (53%) ข้อมูลนี้ได้มาจากการทำ online survey

อินฟลูเอนเซอร์ ต้องได้รับความนิยมขนาดไหนถึงจะสร้าง Impact ได้?

อินฟลูเอนเซอร์ที่มีคนติดตามทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ติดตามมากกว่าหนึ่งล้านคน (36%) ซึ่งมีความสอดคล้องกันทั่วทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ประชากรคนอื่นๆ ก็ติดตามอินฟลูเอนเซอร์ต่างๆกันไปแบบพอๆกัน มีทั้ง Macro Micro หรือ Mega Influencer กันเลยทีเดียว

ถึงกระนั้นก็เหอะ ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้ สิ่งสำคัญสำหรับคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มองหาจากอินฟลูเอนเซอร์ คืออินฟลูเอนเซอร์มีความจริงใจ (51%) มีอารมณ์ขัน (49%) และแสดงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตน (42%) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซีย คำแนะนำที่สม่ำเสมอถือเป็นคุณลักษณะที่มีคุณค่าสูงสุด ในขณะที่คนเวียดนามมักมองหาอินฟลูที่มักมีส่วนร่วมกับผู้ติดตามมากขึ้น

บ่อยครั้งที่เราจะบอกได้ว่าอินฟลูเอนเซอร์รีวิวอย่างจริงใจ หรือตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์เอง ที่บอกความจริงแต่ไหน หรือเป็นแค่การแสดงเท่านั้น สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างหรือทำลายอินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างงายดาย ผู้ที่สูญเสียผู้ติดตามบางส่วนไป ได้แก่ Mikayla Nogueira ซึ่งเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลด้านความงามที่ใช้ขนตาปลอมในการรีวิวมาสคาร่าของเธอ และ Quenlin Blackwell ที่ร้องไห้ปลอมๆ เพื่อขอรับบริจาคจาก “ธุรกรรมที่ผิดพลาด”

Deinfluencers

เพื่อตอบสนองต่อคำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทของอินฟลูเอนเซอร์ในโลกของผู้บริโภคนิยม คลื่นลูกใหม่ของบุคคลในโซเชียลมีเดียได้ถือกำเนิดขึ้น: Deinfluencer หรือ ดีอินฟลูเอนเซอร์ แม้ว่าจะไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนว่าคืออะไร แต่บุคคลเหล่านี้ท้าทายแนวโน้มผู้บริโภคนิยมของเราด้วยการนำเสนอมุมมองทางเลือกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในแง่มุมที่ต่างออกไป แทนที่จะโปรโมตอุปกรณ์ใหม่ล่าสุด พวกเขาสนับสนุนให้เราคิดก่อนรูดการ์ด พวกเขาไม่ได้อยู่ในบัญชีเงินเดือนของแบรนด์ หรือบริษัทใดเลย พวกเขาคือจิตสำนึกดิจิทัลของเราที่สนับสนุนการบริโภคอย่างมีสติ

แต่ที่น่าสนใจคือ แม้ว่าจำนวนของอินฟลูเอนเซอร์จะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มีความเป็นกลางต่อทั้งความเห็นของอินฟลูเอนเซอร์และดีอินฟลูเอนเซอร์ และตัวเลขที่น่าสนใจอีกอันหนึ่งก็คือ คน 40% เผลว่าไม่เคยซื้อสินค้าโดยอาศัยเนื้อหาจากอินฟลูเอนเซอร์เลย และ 20% ของกลุ่ม Gen Z ระบุว่าการซื้อผ่านอินฟลูเอนเซอร์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อครึ่งปีที่แล้ว และหากถามถึงการรับรู้เรื่อง ดีอินฟลูเอนเซอร์ กับคนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คนเวียดนามนำหน้าเกมไปเลยโดย 62% รู้จักคำนี้

ความน่าเชื่อถือ: เรื่องที่ไม่ต้องเอ่ยก็เข้าใจ

อยากรู้ไหมว่าอะไรกระตุ้นปัจจัยแห่งความไว้วางใจในหมู่ผู้บริโภคชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง การเจาะลึกข้อมูลของเรา(survey data analysis software) เผยให้เห็นว่าเนื้อหาหรือบทความรีวิวจากผู้ใช้งานจริง มีน้ำหนักในเรื่องความไว้วางใจได้มากกว่าการให้อินฟลูเอนเซอร์ช่วยตะโกน แม้ว่า 50% จะมีจุดยืนที่เป็นกลางต่อเนื้อหาของแบรนด์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ ที่เชื่อถือได้ แต่ก็มีเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากันที่ยืนกรานในการแท็กเนื้อหาดังกล่าวอย่างเหมาะสมว่าเป็นการโฆษณาโดย sponsor หรือ รีวิวจริง 

อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกโดยรวมต่ออินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับเป็นความรู้สึกเป็นกลาง (55%) จะเห็นได้เยอะก็ในเวียดนาม (60%) คนให้ความรู้สึกที่เป็นบวกกับอินฟลูเอนเซอร์ และถึงกระนั้น คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 ใน 10 คน พบว่าเนื้อหาที่ได้จากอินฟลูเอนเซอร์เป็นการให้ความรู้ และ 1 ใน 5 ให้เครดิตอินฟลูเอนเซอร์ ในการแนะนำให้พวกเขารู้จักกับแบรนด์/ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ (Campaign Analysis)

questionnaire creator and influencers
Questionnaire from creator and Influencers

การลงทุนใน Influencer Marketing ยังมีข้อดีอยู่

เนื้อหาจากอินฟลูเอนเซอร์ไม่ได้แปลเป็นการขายโดยตรงเสมอไป การปรากฏตัวของพวกเขายังคงช่วยสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ การให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณได้รับการโปรโมตให้เป็นที่รู้จัก โดยอินฟลูเอนเซอร์ช่วยให้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับแบรนด์ของคุณ เรื่องนี้มีความสำคัญมาก เพราะกว่าที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื่อสินค้าหรือบริการของคุณ แบรนด์ของคุณต้องเข้าถึงผู้บริโภคได้ก่อน ไม่ว่าเห็นตรงหน้า หรือ อยู่ในใจของพวกเขา

กลุ่มสินค้าที่ ผู้ซื้อสินค้าอิงจากเนื้อหาของอินฟลูเอนเซอร์  3 อันดับแรกในการซื้อ ได้แก่ ความงาม (41%) แฟชั่น (38%) และอาหารและเครื่องดื่ม (37%) หากไปเจาะดูในกลุ่มผู้ชาย จะพบว่า พวกเขาจะซื้อตามอินฟลูเอนเซอร์สำหรับสินค้าเทคโนโลยี/แกดเจ็ต (41%) อาหารและเครื่องดื่ม (36%) และแฟชั่น (30%) ที่เป็นสินค้าที่ซื้อบ่อยที่สุด

การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ ที่ก็เหมือนกับการโฆษณาและ/และแคมเปญการตลาดแบบอื่นๆ จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่คิดอย่างรอบคอบ(Campaign Analysis) สิ่งสำคัญคือต้องจัดสรรเวลาในการค้นคว้าเกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์ที่คุณอยากร่วมงานด้วย ดูคนที่ติดตามเค้า และการนำเสนอเนื้อหาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสินค้าของเรา

Online Survey with influencer's content

Sẵn sàng nâng cao tầm nhìn sâu sắc của bạn chưa?

Hãy bắt đầu ngay để hướng tới sự xuất sắc dựa trên dữ liệu
Liên hệ với Milieu ngay hôm nay
Cảm ơn bạn, chúng tôi sẽ liên lạc rất sớm!
Rất tiếc! Có gì đó không ổn khi gửi biểu mẫu.